การแปลเอกสารไทย เยอรมัน ไทย

แปลเอกสารเยอรมัน

แปลเอกสารเยอรมัน

การแปลเอกสาร


บริษัท L.O.W. Travel and Service Co.Ltd. รับแปลเอกสารจากภาษาไทยเป็นภาษาเยอรมัน หรือ ภาษาเยอรมันเป็นภาษาไทย แปลเอกสารเยอรมันโดยผู้แปลที่มีใบอนุญาตจากศาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน และเป็นผู้แปลที่ทางสถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันให้การยอมรับ ท่านจึงมั่นใจได้ว่าเอกสารของท่านที่ผ่านการแปลจากเราเป็นเอกสารที่ได้รับการแปลอย่างถูกต้องและสามารถนำไปใช้งานได้จริง สำหรับเอกสารที่เราให้บริการแปลนั้นได้แก่

  • ทะเบียนบ้าน
  • หนังสือเปลี่ยนชื่อตัว และนามสกุล
  • หนังสือสัญญาทุกประเภท
  • หนังสือจดทะเบียนบริษัท
  • หนังสือรับรองการเลี้ยงดูบุตร
  • เอกสารทางการศึกษา
  • รับรองเอกสารกรมการกงสุล สถานทูต
  • อื่นๆ

เอกสารจดทะเบียนสมรสระหว่างบุคคลสัญชาติไทย-เยอรมัน และรับรองบุตร

การดำเนินเรื่องเพื่อทำการจดทะเบียนสมรสระหว่างบุคคลสัญชาติไทยและเยอรมันนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้เอกสารสำคัญต่าง ๆ ประกอบกัน และต้องทำการแปล เพื่อนำเข้าไปรับรองภายในสถานฑูต โดยเอกสารที่ใช้เพื่อการจดทะเบียนสมรสระหว่างบุคคลสัญชาติไทย-เยอรมันและการรับรองบุตรนั้น จะมีความแตกต่างของการจัดเอกสารเพื่อเข้ารับรอง ขึ้นอยู่กับกรณีต่าง ๆ ซึ่งทางบริษัทของเราได้ให้บริการในการแปลเอกสาร ให้คำปรึกษา จัดการดำเนินการด้านเอกสารแบบครบวงจร และ การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย หรือ จดทะเบียนสมรสที่ประเทศเยอรมนี ใช้เอกสารดังต่อไปนี้

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับจดทะเบียนสมรสระหว่าง บุคคลสัญชาติไทยกับบุคคลสัญชาติเยอรมัน กรณีโสด
(ไม่เคยจดทะเบียนสมรส ไม่เคยหย่าร้าง)
กรณีหย่าร้าง กรณีหม้าย
(คู่สมรสเสียชีวิต)
กรณีเพศเดียวกัน
1.ใบเกิด หรือหนังสือรับรองเกิด
2.ทะเบียนบ้าน หรือแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ (ทร.14/1)
3.ใบรับรองโสดจากอำเภอ
**มีอายุ 6 เดือน นับจากวันออกเอกสาร**
4.คำร้องเกี่ยวกับทะเบียนครอบครัว(ใบทะเบียนกลาง/นางเลิ้ง)**สามารถมอบอำนาจให้ทางบริษัทไปขอแทนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเอกสารมีอายุ 6 เดือน นับจากวันออกเอกสาร**
5.ใบเปลี่ยนชื่อ (ช.3)
**ใช้ในกรณีเคยเปลี่ยนชื่อ**
กรณีเคยเปลี่ยนชื่อ กรณีเคยเปลี่ยนชื่อ กรณีเคยเปลี่ยนชื่อ กรณีเคยเปลี่ยนชื่อ
6.ใบบันทึกสมรส (คร.2) กรณีจดทะเบียนสมรส
7.ใบบันทึกการหย่า (คร.6) กรณีหย่า
8.ใบสำคัญการหย่า (คร.7) กรณีหย่า
9.ใบสำคัญการสมรส (คร.3)
10.ใบเปลี่ยนนามสกุล (ช.5) บางกรณี บางกรณี บางกรณี บางกรณี
11.ใบรับรองบุคคลคนเดียวกัน
**ใช้ในกรณีชื่อหรือนามสกุลในเอกสารแต่ละฉบับไม่ตรงกัน หรือสะกดผิด**
บางกรณี บางกรณี บางกรณี บางกรณี
12.ใบมรณบัตร
13.คำพิพากษา หรือ คำตัดสิน คดีถึงที่สุด กรณีฟ้องหย่าโดยศาล กรณีฟ้องหย่าโดยศาล
14.หนังสือยินยอมจากบิดา มารดา กรณีบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปี
15.สัญญาการใช้ชีวิตคู่ ที่ออกให้โดยทนายความในประเทศเยอรมัน “ เรียกว่า Notar อ่านว่า โน-ทาร์ ”

**ใช้บางกรณี ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายทะเบียนของคู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมัน**
16. หนังสือมอบอำนาจให้คู่สมรสสัญชาติเยอรมันยื่นขอจดทะเบียนสมรสที่ประเทศเยอรมัน “ Beitrittserklärung อ่านว่า ไบ-ทริทท์ส-แอร์-แคล-รุ่ง ”
17.แบบฟอร์มเพื่อให้ศาลในประเทศเยอรมันนีตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของการหย่ากับคู่สมรสเดิมสัญชาติไทย กรณีเคยหย่า “ Antrag auf anerkennung einer ausländischen Entshceidung in Ehesachen ”
18.Versicherung an Eides Statt ใช้ในกรณีมีคำสั่งจากนายทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่สมรสฝ่ายเยอรมันเท่านั้น
19.สำเนาหน้าหนังสือเดินทางที่ผ่านการรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงจากสถานทูต

เพิ่มเติม

หลังจากขอยื่นวีซ่าแล้ว นายทะเบียนอำเภอที่ประเทศเยอรมนี มีสิทธิ์ขอเอกสารเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น ใบรับรองความประพฤติ, หนังสือรับรองรายได้, ใบสูติบัตรของบุตร, ใบรับรองแพทย์ คู่สมรสสัญชาติเยอรมันควรติดต่อนายทะเบียนท้องที่เพื่อขอรายละเอียดเอกสารที่ทางนายทะเบียนต้องการ



***สำหรับคู่สมรสสัญชาติไทย***


-หนังสือรับรองเกิด ต้องระบุ ชื่อ บิดา มารดา ที่อยู่ปัจจุบัน วัน เดือน ปี เกิด ให้ชัดเจน
-หนังสือรับรองโสด กรณีเคยหย่าร้าง กรณีเคยจดทะเบียนสมรส ต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่า เคยหย่าร้างหรือจดทะเบียนกับใคร และระบุเลขทะเบียนหย่า เลขทะเบียนสมรสให้ชัดเจน


โทรหาเรา หรือ ติดต่อกับเรา เราค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคุณ และเราสามารถช่วยเหลือคุณได้

ติดต่อพวกเรา

เลขที่ 76/1-2 ซอยโปร่งใจ(สาทรซอย1) แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

Tel.081-4401577,085-7700887,084-4994459 , Line ID : lowvisa , FB : Pitak Makanaso

Map : สาทร 1 ซอยโปร่งใจ